Isnin, 2 Februari 2009

มัสยิดตะโละมาเนาะ สถาปัตกรรมอันเลื่องชื่อแห่งโลกมลายู


มัสยิดตะโละมาเนาะ หรือ มัสยิดวาดีลอัลฮูเซ็น ตั้งอยู่ปริเวณเชิงเขาบูโด ต.ลูโบะสาวอ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ห่างจากตัวเมืองนราธิวาส 25 กิโลเมตร สร้างในปี พ.ศ. 2167 มีอายุ 382 ปี รุ่นราวคราวเดียวกับมัสยิดกรือเซะ เป็นมัสยิดเรือนไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและในแหลมมลายูก็ว่าได้ มัสยิดแห่งนี้ได้รับการดูแลและยกย่องให้เป็นมรดกชาติ จากกรมศิลปากรแล้ว ปัจจุบันยังคงใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของชาวมุสลิมอยู่ในหมู่บ้านและประชาชนละแวกใกล้เคียง
จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุในหมู่บ้านเกี่ยวกับประวัติการสร้างมัสยิดแห่งนี้สรุปได้ว่า เนื่องจากเกิดสงครามระหว่างเมืองปาตานีกับกรุงศรีอยุธยา ท่านวันฮูเซ็น อัสซานาวี ซึ่งเป็นอาจารย์สอนศาสนาที่มีลุกศิษย์มากมายรวมทั้งเจ้าเมืองปาตานี ด้วยความรักและความห่วงอาจารย์ของเจ้าเมืองปาตานี จึงได้สั่งให้ท่านวันฮูเซ็นอพยพชาวบ้านและลูกศิษย์บางส่วนมาจากบ้านสะนอยานยา (ปัจจุบันอยู่ใน อ.ยะรัง จ.ปัตตานี) มาอยู่ในที่ปลอดภัย โดยตะโละมาเนาะถือเป็นทำเลที่เหมาะสำหรับการตั้งหลักแหล่ง เพราะเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์ป่านานชนิด สามารถปลูกพืชผักได้อย่างงอกงาม จากนั้นท่านจึงสร้างมัสยิดแห่งนี้ขึ้นมา
คำว่า "ตะโละ" เป็นคำภาษามลายู แปลว่าอ่าว หรือแผ่นดินซึ่งเว้าเข้าไปในเชิงเขา ส่วนคำว่า "มาเนาะ" ชาวบ้านบางคนบอกว่าเป็นชื่อต้นไม้ โดยในพจนานุกรม ระบุว่า "มานุก" แปลว่านกหรือไก่ ดังนั้น ตะโละมาเนาะ ก็คือถิ่นของนกหรือถิ่นของไก่ เนื่องจากหมู่บ้านแห่งนี้อยู่ติดริมลำธาร ซึ่งในอดีตเป็นที่อาศัยหรือแหล่งหากินของนกและไก่ป่า รวมทั้งสัตว์ป่าอื่นๆอีหลายชนิด มัสยิดนี้แตกต่างจากมัสยิดอื่นตรงที่สร้างด้วยไม้ตะเคียนทั้งหลัง อาคารจะใช้สลักไม้ยึดแทนตะปูหรือสกรูเหล็ก เป็นการสร้างแบบศิลปไทยพื้นเมืองประยุกต์ ผสมผสานกับศิลปแบบจีนและมลายู ตัวมัสยิดสร้างเป็นอาคาร 2 หลังติดกัน มีขนาด 14.20x6.30 เมตร ส่วนที่เด่นที่สุดเห็นจะเป็นหลังคา หลังแรกจะมีหลังคา 3 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องดินเผา หลังคาชั้น 3 มีโดมเป็นเก๋งจีน ส่วนที่ 2 จะมีหลังคา 2 ชั้นหลังคาชั้นที่ 2 เป็นจั่วรูปฐานรองรับอยู่บนหลังคาชั้นแรก รอบฐานจะแกะสลักเป็นเถาก้าน เจาะเป็นลวดลายต่าง ๆ อย่างสวยงาม ด้านในจะมีบันไดซึ่งสมัยก่อนใช้ขึ้นไปบนหออะซานหลังคาชั้นที่ 2 เพื่อตะโกนเรียกละหมาด
มัสยิดแห่งนี้ยังได้รับความสนใจจากสถาบันการศึกษาชั้นสูงในประเทศมาเลเซีย โดยมีเอกสารและหนังสือหลายเล่มที่อ้างถึงมัสยิดหลังนี้ เช่น "วาดีลอัลฮูเซน ปาตานี มัสยิดเรือนไม้อันสุดงาม" (WADI AL-HUSEIN PATANI : Masjid Kayu Terindah) โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย และงานวิจัยเรื่อง "มัสยิดตะโละมาเนาะ นราธิวาส ประเทศไทย" โดยคณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมาเลเซีย นอกจากนี้ ยังเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศโดยเฉพาะชาวมาเลเซีย
เมื่อประมาณ 30 กว่าปีมาแล้ว อาคารของมัสยิดหลังเก่าถูกต่อเติม ขยายเนื้อที่ในการใช้สอยให้กว้างขึ้น เพื่อรองรับความต้องการของผู้คนที่หลั่งไหลกันมาประกอบศาสนกิจที่มัสยิดแห่งนี้ การก่อสร้างยังอิงความรู้สึกของผู้คนอยู่ กรมศิลปากรจึงเนรมิตอาคารหลังใหม่ที่เชื่อมต่อจากอาคารหลังเก่า ด้วยความพิถีพิถันประณีตและดูกลมกลืนมากที่สุด

Rabu, 14 Januari 2009

กริช

กริช เป็นมีดสั้นแบบหนึ่ง ใบมีดคดแบบลูกคลื่น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในหมู่ผู้คนในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบางจังหวัดทางภาคใต้ของไทย กริชนั้นเป็นทั้งอาวุธและวัตถุมงคล บ่งบอกถึงเหตุดีร้ายในชีวิตได้ ปัจจุบันยังนิยมสะสมเป็นของเก่าที่มีคุณค่าสูง
เชื่อกันว่ากริชนั้น เริ่มมีใช้ในเกาะชวา แล้วแพร่หลายไปทั่วหมู่เกาะอินโดนีเซีย ผ่านไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันเป็นที่รู้จักใน
มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ตอนใต้ กัมพูชา ภาคใต้ของไทย สิงคโปร์ และแม้กระทั่งเวียดนาม
ในภาคใต้มีกริช รามัน เป็นที่เลื่องลือกันมานาน ปัจจุบันยังคงมีผู้อนุรักษ์การตีกริชอยู่ ตั้งอยู่ที่ตำบลตะโละหะลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

คำว่า "กริช"
คำว่า " กริช" ในภาษาไทย น่าจะถอดมาจาก "keris" ในภาษามลายู ซึ่งหมายถึง "มีดสั้น" คำนี้ ผ่านมาจากภาษาชวาโบราณอีกทอดหนึ่ง คือ งริช หรือ เงอะริช หมายถึง แทง ภาษาต่างๆ ในยุโรป ใช้ว่า kris ตามมลายู

ใบและฝัก
ตัวกริช หรีอส่วนใบมีดนั้น มักจะเรียว และคด ส่วนโคนกว้าง ความยาวของกริชนั้นแตกต่างกันไป ไม่จำกัด ใบมีดก็ตีจากแร่เหล็กต่างๆ กัน แต่โดยมากจะมีนิกเกิลผสมอยู่ ช่างทำกริช หรือ เอมปู จะตีใบมีดเป็นชั้นๆ ด้วยโลหะต่างๆ กัน กริชบางเล่มใช้เวลาสั้น บางเล่มใช้เวลาตีนานเป็นปีๆ หรือใช้เวลาชั่วชีวิตก็มี กริชที่มีคุณภาพสูง ตัวใบมีดจะพับทบเป็นสิบๆ หรือร้อยๆ ครั้ง โดยมีความแม่นยำสูงมาก ใบมีดนั้นอาจมีรอยประทับของช่างกริช เช่นรอยนิ้วหัวแม่มือ ริมฝีปาก ในระหว่างการตีใบมีดนั้น การใช้โลหะต่างชนิดกันมาตีเป็นมีดใบเดียว ทำให้เกิดเป็นลายน้ำที่แตกต่างกัน ซึ่งเรียกว่า ปามอร์ หรือ ปามีร์ อันเป็นแนวคิดเดียวกับ เหล็กกล้า ดามัสคัส และญี่ปุ่น มีการใช้กรดกัดตัวใบมีด หลังจากตีแล้ว เพื่อให้เกิดรอยเงาและทึบบนโลหะ สำหรับแหล่งแร่เหล็กนั้นจะเป็นแหล่งแร่ที่หายากแถบมาเลเซีย หรืออินโดนีเซีย
ใบกริชนั้นจะคดหรือหยักเป็นลอนคลื่น เรียกว่า ลุก กริชส่วนใหญ่มีน้อยกว่า 13 หยัก และนับเลขคี่เสมอ




ที่มา:จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8A

Ahad, 11 Januari 2009

เสื่อกระจูด


กระจูดเป็นพันธุ์ไม้จำพวกกก (Sedge) ชนิดหนึ่งในตระกูล Cyperaccae ซึ่งมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Lepironia Articalata ขึ้นอยู่ตามชายหนองบึง ในบริเวณมีน้ำขัง และดินโคลนริมทะเล โดยเฉพาะทางภาคใต้ของไทย ลักษณะ ลำต้นกลมกลวงเป็นปล้อง มีข้อ ภายในลักษณะเป็นเยื่อบาง เส้นผ่าศูนย์กลางของ ลำต้นโดยเฉลี่ยประมาณ 1/8-4/16 นิ้ว หรือขนาดราวแท่งดินสอดำ มีความสูง ประมาณ 1.00-3.00 เมตร ไม่มีใช ดอกออกเป็นกระจุกข้างลำต้น การปลูกต้นกระจูด มักจะใช้หัวสำหรับปลูก ชาวบ้านนิยมปลูกต้นกระจูดเอาไว้ใช้สานเสื่อภายในครอบครัวและขายเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว เรียกว่า "เสื่อจูด" หรือ "เสื่อกระจูด
การฟอกย้อมสีกระจูด ชาวบ้านที่มีอาชีพทางการสานเสื่อกระจูดนิยมนำกระจูดไปสานเสื่อชนิดไม่มีลาย สำหรับชนิดมีลายโดยนำกระจูดไปย้อมสีแบบพื้นบ้าน โดยนำกระจูดไปตำให้แบนเรียบแล้วล้างโคลนที่ติดอยู่ตามผิวนอกออก ต่อจากนั้นนำไปฟอกขาวแล้วนำไปย้อมสีโดยนำไปแช่ในถังสีที่กำลังเดือด จะได้สีตามต้องการ
วิธีการสานเสื่อกระจูด นิยมสานลวดลายมาตรฐาน คือ ลายขัดสองหรือลาย ขัดสาม นอกจากนั้นมีการพัฒนาดัดแปลงลวดลายการสานต่อไปอีก เช่น ลายลูกแก้ว ลายดาวล้อมเดือน ลายดอกจันทน์ ลายแก้วต่อดอก ลายโดม ลายแก้วเนื่อง ลายก้านต่อดอก เป็นต้น ปริมาณวัตถุดิบคือกระจูดมัดหนึ่ง ๆ ที่ตัดปลายแล้วจะจำหน่าย 10 มัด ราคา 70-120 บาท ราคาเสื่อกระจูดขึ้นอยู่กับขนาดและลวดลายของเสื่อ และฝีมือการสาน โดยปกติจะสานเสื่อกระจูด 2 ขนาดคือ ขนาดเล็ก ความกว้าง ความยาวประมาณ 0.70x1.50 เมตร ต่อผืน ขนาดใหญ่ ความกว้าง ความยาวประมาณ 1.20x2.50 เมตรต่อผืน
การสานเสื่อกระจูด นิยมสานกันมากแถวบ้านทอน ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส นอกจากจะนำกระจูดมาสานเป็นเสื่อแล้ว ยังนำมาใช้ทำใบเรือ ทำเชือกผูกมัด ทำกระสอบ หรือเครื่องหุ้มวัตถุต่าง ๆ ที่เรียกว่า Bales และสานเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากมาย

Khamis, 8 Januari 2009

ASAL USUL POHON SAGU


Pohon sagu adalah sejenis tumbuhan dataran rendah,tanah basah dalam paya. Walaubagaimanapun ada hamba ALLAH yang cuba mengesahkan pohon sagu daripada bahagian badan manusia, justeru Islam terang-terang menyebut tentang kejadian makhluk dan asal usul setiap makhluk untuk dikeahui khalayak. Sila KLIK untuk baca kesah yang direkakan seterusnya.

Sabtu, 3 Januari 2009

BAGI MU PEJUANG PALESTINE

Abu Hurairah r.a berkata, Nabi SAW bersabda:”Tiap-tiap luka yang menimpa seseorang muslim di jalan Allah nescaya lukanya itu di hari kiamat tetap seperti ketika dia ditikam mengeluarkan darah. Warnanya warna darah, tetapi baunya bau kasturi.”
(Bukhari dan Muslim)

POHON BANTUAN ALLAH

اللَّهُمَّ أَعِزَّ الإسْلامَ وَانْصُرِ المُسْلِمِيْنَ ،اللَّهُمَّ أَذِلَّ الشِّرْكَ وَالمُشْرِكِيْنَ ، وَادْفَعْ كَيْدَ الكَائِدِيْنَوَارْفَعْ بِعِزَّتِكَ رَايَتَيِ الحَقِّ والدِّيْن اللَّهُمَّ مَنْ أَرَادَ الإسْلامَ والمُسْلِمِيْنَ بِخَيْرٍ فَََوَفِّقْهُ لِكُلِّ خَيْرٍ ،