Isnin, 1 Februari 2010

การเขียนเรื่องสั้น (CERPEN)
โดย อ.ซูฮัยมีย์ อาแว
แผนกวิชาสามัญ วิทยาลัยเทคนิคยะลา

เรื่องสั้นในวรรณกรรมมลายู(Sastera Melayu)เรียกว่า Cerpen เป็นคำประสมที่มาจากคำว่า “เจอรีตา” กับคำว่า “เปนเด็ก” (Cerita Pendek) นั้น เป็นศิลปะประเภทการแต่งเรื่องที่ได้รับความนิยมกันมากสาขาหนึ่ง ประกอบ ด้วย 5 ฉาง-ร(Genre ) หรือ สาขา คือ 1) เรื่องสั้น(Cerpen) 2) ละคร (Derama) 3)บทร้อยแก้ว /วิพากษ์ (Esei / Kritik) 4)นวนิยาย (Novel)และ 5)โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน(Puisi)
เรื่องสั้นเป็นเรื่องราวที่มาจากฐานความจริง ( Fact ) ในสังคมประกอบกับจินตนาการของผู้เขียนและก่อรูปขึ้นมาเป็นเรื่องราวด้วยพลังสุนทรียภาพทางภาษาเชิงวรรณกรรม ในขณะที่วรรณกรรมนั้นถึงแม้จะให้คำอธิบายอย่างครอบคลุมได้ยาก เนื่องจากตัววรรณกรรมนั้นไม่ใช่วัตถุที่มองเห็นได้ มันเป็นเพียงแค่นามที่ระบุไว้สำหรับงานเขียนที่เฉพาะตามกรอบวัฒนธรรมที่เจาะจงเท่านั้น
อย่างไรก็ตามวรรณกรรมสามารถสรุปได้ว่าเป็นศิลปะประดิษฐ์ที่ถ่ายทอดกันด้วยภาษาอันประกอบด้วยสิ่งที่งดงาม ภาษาที่สละสลวย และเทคนิคการเล่าเรื่องที่ประณีตงดงาม ความสวยงามของวรรณกรรมไม่สามรถวัดได้ด้วยสายตาแต่เป็นความงดงามที่ทรงคุณค่ายิ่งเชิงศิลปะและภาษา
ด้วยเหตุนี้เรื่องสั้น(Cerpen)จึงเป็นองค์รวมหน่วยหนึ่งที่ไม่สมดุลระหว่างประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงกับจินตนาการที่คิดค้นขึ้นมาโดยผู้แต่งตามมโนภาพและอารมณ์ของตน โดยความยาวของเรื่องจะอยู่ระหว่าง 5,000 – 20,000 คำเท่านั้น
องค์ประกอบของเรื่องสั้น
1.สติปัญญา (Intellect)
เรื่องสั้นที่ดีจะประกอบด้วยหลักคิดที่ทำให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเพิ่มพูนวิทยปัญญาได้เสมอ มีแนวความคิดที่น่าจดจำอันจะสามารถช่วยนำสู่หนทางที่ดีได้ในบางโอกาส
2.อารมณ์ (Emotion)
ความโลดแล่นทางอารมณ์ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์โศกเศร้าหรือสนุกสนาน คลอเคลีย หยอกเย้า ถากถาง เยินยอ ที่สามรถนำผู้ฟังเข้าสู่เรื่องที่เล่าอย่างได้อารมณ์ อีกทั้งยังสามารถโน้มน้าวให้เกิดความตระหนักคิดอย่างชาญฉลาดสู่โลกแห่งความเป็นจริง
3.สถานการณ์/สภาพปัญหา
ความโดดเด่นของเรื่องสั้นมักจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์หรือสภาพปัญหาที่วางอยู่ในโครงเรื่องแต่ละขั้นตอน โดยที่สถานการณ์หรือสภาพปัญหาจะได้รับการถ่ายทอดออกมาจากจิตใจและสมองด้วยการจินตนาการในเรื่องราวที่เป็นจริงไม่ใช่ความเพ้อเจ้อที่ว่างเปล่า มีเป้าหมายที่กำหนดในการเขียนเรื่องสั้นนั้น ๆ ชัดเจน และนำสู่แนวทางที่ดี
4.เทคนิคการนำเสนอ
ประกอบด้วยเทคนิคในการอธิบายเรื่องราวทั้งหมดด้วยท่วงท่า ลีลา คำ และการเลือกใช้คำพูดหรือถ้อยคำ ตลอดจนการลำดับเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
ลักษณะของ Cerpen
1.จำลองเหตุการณ์ ( Mimicry) โดยลอกเลียนแบบพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคมผสมกับเหตุการณ์ที่จินตนาการข้นเองของผู้แต่ง
2.เรื่องสั้นอิงเหตุผล คือ การสร้างเรื่องโดยหลักการ หรือเหตุผลเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบจากปรกติ เช่น การจินตนาการถึงตัวละครจากมนุษย์ต่างดาว ฯลฯ
3.เรื่องสั้นความฝัน เป็นเรื่องราวคล้ายกับการฝัน ด้วยลักษณะที่นอกเหนือธรรมชาติ มีกฎเกณฑ์เฉพาะตัวจนบางครั้งไม่อาจยอมรับได้โดยจิตสำนึก
เทคนิคการเล่าเรื่อง
1.วิธีการสนทนา (Dialogue) เพื่อความลื่นไหลของสมอง
2.วิธีการเคลื่อนไหว (Action)
3.วิธีการวาดภาพเคลื่อนไหวประกอบฉาก