Ahad, 11 Januari 2009

เสื่อกระจูด


กระจูดเป็นพันธุ์ไม้จำพวกกก (Sedge) ชนิดหนึ่งในตระกูล Cyperaccae ซึ่งมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Lepironia Articalata ขึ้นอยู่ตามชายหนองบึง ในบริเวณมีน้ำขัง และดินโคลนริมทะเล โดยเฉพาะทางภาคใต้ของไทย ลักษณะ ลำต้นกลมกลวงเป็นปล้อง มีข้อ ภายในลักษณะเป็นเยื่อบาง เส้นผ่าศูนย์กลางของ ลำต้นโดยเฉลี่ยประมาณ 1/8-4/16 นิ้ว หรือขนาดราวแท่งดินสอดำ มีความสูง ประมาณ 1.00-3.00 เมตร ไม่มีใช ดอกออกเป็นกระจุกข้างลำต้น การปลูกต้นกระจูด มักจะใช้หัวสำหรับปลูก ชาวบ้านนิยมปลูกต้นกระจูดเอาไว้ใช้สานเสื่อภายในครอบครัวและขายเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว เรียกว่า "เสื่อจูด" หรือ "เสื่อกระจูด
การฟอกย้อมสีกระจูด ชาวบ้านที่มีอาชีพทางการสานเสื่อกระจูดนิยมนำกระจูดไปสานเสื่อชนิดไม่มีลาย สำหรับชนิดมีลายโดยนำกระจูดไปย้อมสีแบบพื้นบ้าน โดยนำกระจูดไปตำให้แบนเรียบแล้วล้างโคลนที่ติดอยู่ตามผิวนอกออก ต่อจากนั้นนำไปฟอกขาวแล้วนำไปย้อมสีโดยนำไปแช่ในถังสีที่กำลังเดือด จะได้สีตามต้องการ
วิธีการสานเสื่อกระจูด นิยมสานลวดลายมาตรฐาน คือ ลายขัดสองหรือลาย ขัดสาม นอกจากนั้นมีการพัฒนาดัดแปลงลวดลายการสานต่อไปอีก เช่น ลายลูกแก้ว ลายดาวล้อมเดือน ลายดอกจันทน์ ลายแก้วต่อดอก ลายโดม ลายแก้วเนื่อง ลายก้านต่อดอก เป็นต้น ปริมาณวัตถุดิบคือกระจูดมัดหนึ่ง ๆ ที่ตัดปลายแล้วจะจำหน่าย 10 มัด ราคา 70-120 บาท ราคาเสื่อกระจูดขึ้นอยู่กับขนาดและลวดลายของเสื่อ และฝีมือการสาน โดยปกติจะสานเสื่อกระจูด 2 ขนาดคือ ขนาดเล็ก ความกว้าง ความยาวประมาณ 0.70x1.50 เมตร ต่อผืน ขนาดใหญ่ ความกว้าง ความยาวประมาณ 1.20x2.50 เมตรต่อผืน
การสานเสื่อกระจูด นิยมสานกันมากแถวบ้านทอน ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส นอกจากจะนำกระจูดมาสานเป็นเสื่อแล้ว ยังนำมาใช้ทำใบเรือ ทำเชือกผูกมัด ทำกระสอบ หรือเครื่องหุ้มวัตถุต่าง ๆ ที่เรียกว่า Bales และสานเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากมาย

Tiada ulasan:

Catat Ulasan